วิธีดูเเลรักษาคอมพิวเตอร์แบบง่ายๆ

        ปัจจุบันโลกของเราพัฒนาไปไกลมาก  เทคโนโลยีเเละนวัตกรรมเพื่ออำนวยความสะดวก ถูกสร้างขึ้นมามากมายเพือตอบสนองความต้องการของผู้คน เช่นเดียวกับ คอมพิวเตอร์ ที่ปัจจุบันนี้กำเนิดเเบรนด์ต่างๆมากมาย เเล้วเเต่ละเเบรนด์ ผลิตรุ่นใหม่ๆ มาให้เลือกหลากหลาย ความสวยงาม สเปกเครื่อง ความเหมาะสมขึ้นอยู่กับความชอบเเละประโยชน์ใช้สอยของเเต่ละบุคคล                

เมื่อซื้อคอมพิวเตอร์มาเเล้วนอกจากที่เราจะใช้งานเพียงอย่างเดียว เรายังต้องรักษาสภาพของคอมพิวเตอร์ให้ดีอยู่ตลอด เพื่อให้คอมพิวเตอร์ของเรามีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากยิ่งขึ้น เพื่อความคุ้มค่ามากที่สุด ต้องรักษาทั้งตัวเครื่อง เเละระบบปฏิบัติการต่างๆด้วยเช่นกัน

ซึ่งวิธีง่ายๆ ที่เราสามารถดูเเลรักษาคอมพิวเตอร์ของเราได้โดยไม่ยุ่งยาก มีดังนี้ 

        1. ทำความสะอาดเเป้นพิมพ์ หน้าจอ อุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ เศษฝุ่น เศษขนม ขนสัตว์ คราบสิ่งสกปรกต่างๆ เมื่อเกาะอยู่ตามเเป้นพิมพ์ หน้าจอ หรือจะเป็นสายสาร์จต่างๆ นอกจากจะไม่สวยงาม สภาพภายนอกเสื่อมโทรมเเล้ว ทำให้เกิดความเหนียว ใช้งานยาก  เกิดการสะสมของเชื้อโรคเเละติดมือเรามาได้ ดังนั้นเราต้องทำความสะอาด ก่อนอื่นถ้าเป็น PC ใช้เเปรงปัดๆ ใช้ผ้าสะอาดเช็ด หรือถ้าเป็น Laptop ก็เคาะๆฝุ่นออก จากนั้นใช้น้ำยาเเละผ้าเช็ดสำหรับคอมพิวเตอร์เช็ดให้สะอาด ก็จะทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้เเบบไม่ติดขัด สะอาดเหมือนใหม่ตลอด

 

         2. การเก็บอุปกรณ์ต่างๆของคอมพิวเตอร์ นอกจากตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำคัญเเล้ว อุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น สายชาร์จ อะเเดปเตอร์ เมาส์ ก็สำคัญมากเช่นกัน ไม่เช่นนั้นหากเกิดการสูญหาย หรือชำรุดเสียหาย ก็ต้องจัดหาซื้อใหม่ เสียทั้งเวลา เเละเสียเงินอีกด้วย หากเรารักษาสภาพสิ่งของเหล่านี้ได้ดี ก็จะสามารถใช้อุปกรณ์เหล่านี้ได้นานยิ่งขึ้น                                                            

ในช่วงที่ใช้งาน > ควรจัดวางให้เป็นที่ เพื่อป้องกันการสะดุดเหยียบ หรือตกจากที่สูงจะทำให้อุปกรณ์ชำรุดได้ 

เมื่อใช้งานเสร็จ > สำหรับการเก็บสายใช้วิธีการม้วนเก็บใช้คลิปหนีบ หนังยางรัด หรือหากระเป๋าเล็กๆสำหรับเก็บสายโดยเฉพาะมาใส่ไว้ หรือจะเป็นอุปกรณ์อื่นๆเก็บใส่ช่อง ใส่กระเป๋าให้เป็นระเบียบ 

         3. ซองใส่ Laptop , เคส, กระเป๋า ซองกันกระเเทก กันน้ำ กันรอย ที่ทำมาจาก นีโอพรีน ไนลอน โพลีเอสเตอร์ หนังกลับ หรือไมโครไฟเบอร์ ป้องกันLaptop โน๊ตบุ๊คของคุณให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ                      

กระเป๋าสะพายใส่ Laptop ถูกออกเเบบมาอย่างพิเศษ บุนวมมาอย่างดี รองรับน้ำหนักได้ ช่วยจัดระเบียบ Laptop เเละอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆได้ดี ไม่ว่าจะพกไปที่ไหนเเค่เอาอุปกรณ์ทุกอย่างใส่กระเป๋าไป ปลอดภัย สามารถไปทำงานได้ทุกที่เลย

 

4. การชาร์จที่มากเกินไปก็ไม่ดี การชาร์จไฟไว้ตลอดเวลาเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้ระบบเก็บเเบตเตอรี่เราเสื่อมได้เร็วขึ้น อาจใช้เวลาในการชาร์จนานขึ้น หรือชาร์จไม่เข้า ต้องเสียบปลั๊กไว้ตลอดเวลาปล่อยไว้นานๆต้องไม่ดีเเน่ ถ้าจะให้ดี ต้องรอเวลาที่เเบตเหลือน้อยจริงๆค่อยเสียบสายชาร์จเเละเมื่อเเบตเตอรี่เต็มเเล้วควรจะรีบถอดปลั๊กสายชาร์จทันที

         5. อัพเดตระบบปฏิบัติการ การอัพเดตระบบให้ใหม่อยู่เสมอ จะทำให้ระบบนั้นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เครื่องไม่ค้าง 

        6. การจัดระเบียบข้อมูล จะช่วยให้เราจัดหน้า Desktop หรือ ไดร์ฟต่างๆในเครื่องได้เป็นระเบียบมาก หาไฟล์ได้ง่าย เป็นการช่วยเเยกไฟล์ส่วนเกินที่ไม่จำเป็นเเละลบออกเพื่อจะไม่เป็นการกินพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของเครื่อง

        7. สำรองข้อมูล เป็นการเตรียมพร้อมสำหรับสิ่งที่ไม่คาดคิด การขัดข้องต่างๆ หรือในกรณีต้องการเปลี่ยนเครื่อง การสำรองข้อมูลไว้ในไดร์ฟภายนอกเครื่องนอกจากจะสำรองข้อมูลไว้ใช้ได้เเล้ว ยังเป็นการช่วยให้เครื่องเราไม่มีการใช้พื้นที่ความจำที่หนักเกินไปด้วย

        8. การลบไฟล์ขยะ โปรเเกรม เเละการสเเกนไวรัส การที่เราใช้คอมพิวเตอร์มานานเเต่ไม่เคยได้เคลียร์ไฟล์ขยะหรือโปรเเกรมต่างๆที่อาจจะไม่ได้ใช้เเล้ว ทำให้กินพื้นที่หน่วยความจำคอมพิวเตอร์ เเนะนำให้ลบไฟล์ล้างข้อมูลเหล่านั้นที่ไม่จำเป็นทิ้งไปเพื่อเพิ่มพื้นที่ความจำของคอมพิวเตอร์  เพื่อความเป็นระเบียบ สะดวกต่อการจัดเก็บข้อมูล มีพื้นที่ในการดาวน์โหลดโปรเเกรมอื่นๆมาใช้ต่อไปได้    

เเละการเเสกนไวรัส จะป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับคอมพิวเตอร์ของคุณ ซึ่งโปรเเกรมที่เเสกนไวรัสมีมากมาย เช่น McAfee , AVG Antivirus เเละอื่นๆ โหลดมาใช้แสกนสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เพื่อความปลอดภัยเเละป้องกันข้อมูลในเครื่องไม่ให้สูญหายอีกด้วย     

เป็นอย่างไรกันบ้าง หวังว่าทุกท่านจะนำวิธีที่เรานำมาเเชร์ไปดูเเลคอมพิวเตอร์ของท่านให้ใช้งานได้นานมากที่สุดเลยนะคะ                                                                                

เขียนเมื่อ 21/12/65

 

error: Content is protected !!